-
Power Platform Solution | Beginner’s Guide – Part 2 (ภาษาไทย)
ทักทาย สวัสดีครับ หลังจากที่ห่างหายจากหัวข้อนี้ไปนาน วันนี้ได้โอกาสมาเขียนเรื่องนี้ต่อแล้ว โดยจะยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำ Application Lifecycle Management ที่ดี ที่ถูกต้องของ Power Platform กันต่อ หลังจากที่ในพาร์ทที่แล้วเรารู้จักกับคอนเซปหลักๆไปแล้ว โดยถ้าคุณยังไม่เคยอ่านบทความแรก สามารถกดอ่านก่อนได้ครับ >> กดอ่านพาร์ทแรก หัวข้อ ในพาร์นี้เราจะมาพูดถึงหัวข้อดังนี้ครับ Dependencies Dependencies แปลตรงตัวก็คือ “การพึ่งพาอาศัย” ซึ่งความหมายค่อนข้างตรงตามชื่อ มันคือความเชื่อมโยงของ Object ต่างๆใน Solution ของเรา เช่น ผมมี Power Apps อยู่ 1 ตัว และในแอปนั้นผมใช้ Dataverse table เป็นฐานข้อมูล และตัวแอปก็ยังเชื่อมกับ Flow ของ Power Automate อีกด้วย ซึ่งหมายความว่าตัว Power Apps นั้นพึ่งพา/ผูกกับ Table และ Flow นี้อยู่นั่นเอง…
-
Power Platform Solution | Beginner’s Guide (ภาษาไทย)
ทักทาย สวัสดีครับ จากปกติที่ผมจะเขียน blog เป็นภาษาอังกฤษเสมอ แต่โพสนี้ตั้งใจเขียนให้กับ Power Apps developer ในไทยโดยเฉพาะ เลยจะเขียนโดยตั้งต้นจากภาษาไทยเป็นหลัก เวอร์ชั่นอังกฤษจะตามมาในภายหลัง ที่มา ช่วงตั้งแต่ปี 2023 เป็นต้นมา ฐานของผู้ใช้และนักพัฒนา Power Apps ในไทยนั้นเติบโตขึ้นมาก ผมเริ่มได้เห็นหลายๆบริษัทมีการเปิดรับสมัครตำแหน่ง Power Platform Developer โดยเฉพาะ หรือหลายๆที่ก็ได้มีการผลักดันให้พนักงานที่ถึงแม้จะไม่ใช่โปรแกรมเมอร์เต็มตัวให้มาเรียนรู้ Power Apps และหลายๆที่ก็ได้มีแอปที่พัฒนาและใช้งานจริงอยู่ เพียงแต่หลายๆที่จะเจอปัญหาคล้ายๆกัน และผมเดาว่าถ้าคุณได้มีการทำแอปใช้กันเองถึงระดับหนึ่ง คุณจะเริ่มเจอปัญหาพวกนี้ ซึ่งไม่แปลกเลยที่จะเจอปัญหาพวกนี้หากเราไม่ได้ทำตามหลักการ ALM ที่ดี ALM (Application Lifecycle Management) อธิบายให้เข้าใจง่ายๆคือหลักการการพัฒนาแอปพลิเคชันที่เป็นระบบ ที่จะทำให้เราสามารถดูแล แก้ไขแอปของเราไปได้ในระยะยาวโดยไม่เกิดปัญหาหรือความสับสน ซึ่งตัว Power Platform เองก็มีเครื่องมีที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การทำ ALM ที่ดี นั่นก็คือ Solution ซึ่งไม่แปลกที่คุณอาจไม่รู้จักหากคุณยังเพิ่งเริ่มกับ Power Apps ในช่วงแรกที่คุณเพิ่งจะหัดทำแอป คุณยังไม่ต้องรู้จักมันก็ได้…